WHO เผยโควิด-19 เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของโลก l 01-04-63 l TNN World Today
จับตา “บิ๊กตู่” ประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศ เริ่มใช้ 3 เม.ย. เวลา 22.00 – 04.00 น. หลังผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังไม่ลดลงอย่างชัดเจน พบผู้ป่วยใหม่เพิ่ม 104 ราย ตายเพิ่ม 3 ราย ตายสะสม 15 ราย และผู้ป่วยสะสม 1,875 ราย พร้อมสั่งหยุดคนต่างประเทศเดินทางเข้าไทยถึง 15 เม.ย.
วันที่ 2 เม.ย. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และบริษัท สยามไบโอไซน์ ได้นำน้ำยาชุดตรวจเชื้อโควิด-19 จำนวน 2 หมื่นชุดแรกมามอบให้แก่รัฐบาล ซึ่งเดินเราต้องนำเข้าน้ำยาจากต่างประเทศประมาณ 4,500 บาท แต่ตอนนี้เราผลิตเองได้แล้ว ราคาถูกลงเหลือ 1,500 บาท หรือราคาลดลง 1 ใน 3และจะมอบอีก 2 หมื่นตัวอย่างทุกสัปดาห์ โดยจะครบ 1 แสนชุดใน เม.ย.นี้ โดยจะกระจายใช้ฟรีใน รพ.และห้องแล็บกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ
สำหรับสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลกมีผู้ป่วย 934,668 ราย เสียชีวิต 47,181 คน ขณะที่สหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วย 214,482 ราย เป็นอันดับ 1 ของโลก เสียชีวิต 5 พันกว่าราย ขณะที่อิตาลีเสียชีวิตกว่า 13,000 ราย สเปน 9 พันกว่าราย เยอรมนี 6 พันกว่าราย สำหรับประเทศไทยข่าวดีคือมีผู้รักษาหายกลับบ้านเพิ่ม 59 ราย รวมเป็น 505 ราย ส่วนผู้ป่วยรายใหม่วันนี้มี 104 ราย ส่งผลให้มีผู้ป่วยสะสม 1,875 ราย เสียชีวิตเพิ่มอีก 3 ราย รวมเป็น 15 ราย ได้แก่
1.ชายอายุ 57 ปี ประวัติเดินทางจากสุไหงโก-ลกไปปากีสถาน วันที่ 22 ก.พ. และกลับมาไทยลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ 29 มี.ค. และกลับสุไหง โก-ลก เดินทางวันที่ 30 มี.ค. และพบเสียชีวิตบนรถไฟระหว่างวิ่งผ่านประจวบคีรีขันธ์วันที่ 31 มี.ค. เมื่อทำการตรวจ พบว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้เสียชีวิตมีประวัติเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีเจ้าหน้าที่ทำงานบนรถไฟ 15 คน ต้องควบคุมโรค
2.ชายไทยอายุ 77 ปี มีประวัติโรคถุงลมโป่งพอง เบาหวาน มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ เริ่มป่วยวันที่ 18 มี.ค. มีไข้ 38 องศา ไอเจ็บคอ รับการรักษา รพ.แห่งหนึ่งในปัตตานี วันที่ 20 มี.ค. อาการแย่ลงและเสียชีวิตวันที่ 31 มี.ค. และ 3.ชายไทยอายุ 55 ปี ขับรถสาธารณะสนามบินสุวรรณภูมิ มีประวัติขับรถไปสุรินทร์วันที่ 15 มี.ค. แต่พักกับบ้านตลอด และกลับกทม.วันที่ 16 มี.ค. จากนั้นมีอาการไอแห้งๆ อ่อนเพลีย ไม่มีน้ำมูก เริ่มป่วยวันที่ 18 มี.ค. รักษาที่คลินิก และวันที่ 21 มี.ค. มีอาการเหนื่อยมากขึ้น ก็ไปรับการรักษา รพ.แห่งหนึ่งใน กทม. แต่เพิ่งมาเข้า รพ.วันที่ 29 มี.ค. และเสียชีวิตวันที่ 1 เม.ย.
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ 104 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มสัมผัสผู้ป่วยยืนยันหรือเกี่ยวข้องสถานที่พบผู้ป่วยก่อนหน้าจำนวน 60 ราย ได้แก่ กลุ่มสนมามวย 1 ราย สถานบันเทิง 10 ราย กลับจากพิธีศาสนาอินโดนีเซีย 8 ราย กลุ่มสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้า 41 ราย 2.ผู้ป่วยรายใหม่ 36 ราย ได้แก่ คนไทยเดินทางกลับจากต่างประเทศ 11 ราย ต่างชาติเดินทางเข้ามา 3 ราย สัมผัสผู้ป่วยจากต่างประเทศ 2 ราย ไปที่ชุมนุมชุมชนต่างๆ เช่น งานแฟร์ คอนเสิร์ต ไปสถานที่แออัด สัมผัสคนต่างชาติ รวม 8 ราย บุคลากรทางการแพทย์ 2 ราย และอื่นๆ 10 ราย และ 3.อยู่ระหว่างสอบสวนโรค 8 ราย
“กทม.และนนทบุรีมีแนวโน้มลดลง ต้องขอบคุณที่ร่วมมือกัน แต่จังหวัดอื่นๆ 3-4 วันนี้ดูเหมือนเพิ่มขึ้น อัตราเพิ่มขึ้นต้องหาสาเหตุ สำหรับผู้ป่วยรายใหม่แม้ละลงเหลือ 104 ราย แต่ยังไม่พอที่จะกดจำนวนผู้ป่วยสะสมลง จากการพิจารณาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น คือ คนที่กลับมาจากต่างประเทศ ต่างชาติทีเดินทางเข้ามา แล้วทำให้เกิดการติดเชื้อภายในประเทศ นายกฯ มีมาตรการว่าจะต้องชะลอการเดินทางของคนต่างชาติและคนไทยด้วย เราต้องหยุดเชื้อให้ได้ ต้องชะลอการเดินทางเข้ามาของคนต่างชาติและคนไทย โดยให้กระทรวงการต่างประเทศไปทำข้อมูลต่อไป” นพ.ทวีศิลป์กล่าว
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า จากข้อมูลพบว่าคนไทยไปประชุมอิตาลี 6 คน ติดเชื้อ 4 คน สัมผัสติดเชื้อเพิ่ม 1 คน กักตัว 50 คน กลับจากศาสนกิจมาเลเซีย 132 คน ติดเชื้อ 47 คน ตาย 4 คน กักตัวมากกว่าพันคน จากอินโดนีเซีย 56 คน ติดเชื้อ 32 คน (ล่าสุด 27 คน ติดเชื้อ 19 คน) กักตัวมากกว่า 500 คน เดินทางจากอังกฤษ ติดเชื้อ 4 คน ตาย 1 คน กักตัวมากกว่า 200 คน โดยผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อ ป่วยแต่ปกปิดอาการและแอบเดินทางกลับมา เดินทางจากกัมพูชา ด่านปอยเปต ติดเชื้อ 19 คน กักตัวมากกว่า 300 คนนายกฯ จึงสั่งการคือ วันนี้ถึง 15 เม.ย.ให้ชะลอการเดินทางของคนไทยและต่างชาติที่จะมา เว้นคนขออนุญาตกันไว้ก่อนแล้ว โดยคนที่จำเป็นต้องกลับมาให้ติดต่อสถานทูตประเทศนั้นๆ ปฏิบัติตามคำแนะนำเอกอัครราชทูตของแต่ละแห่งอย่างเข้มงวดที่สุด ไม่ไปที่ชุมชน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า กรมควบคุมโรคมีการวิเคราะห์ข้อมูลสำรวจประชาชรกว่า 1.4 แสนคนเมื่อวันที่ 24-25 มี.ค. โดยสำรวจออนไลน์เรื่องความร่วมมือประชาชนใน 77 จังหวัดที่มีต่อมาตรการรัฐบาล ว่าป้องกันตัวเองแค่ไหน พบว่า ในเรื่องของใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทำ 94.03% ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ 90.47% ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล 85% ส่วนมาตรการรักษาระยะห่างคนอื่น 1-2 เมตร ทำแค่ 64.81% เลี่ยงสัมผัสจมูกตาปาก 57 %
เมื่อถามถึงปัญหาคนเดินทางเข้ามายังมีการป่วยจากโควิด นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่าเราก็เน้นย้ำเรื่องฟิตทูฟลาย โดยดูแลประเทศต้นทาง 14 วันก่อนเดินทาง มีใบรับรองแพทย์ไม่ป่วยก่อนขึ้นเครื่อง ตรวจอุณหภูมิร่างกายไม่มีไข้ก่อนขึ้นเครื่อง และตรวจเมื่อมาถึง โดยมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงต้องกักตัว 14 วัน แต่มีข้อหละหลวงหลายอย่าง คือ กักตัวเองที่ประเทศต้นทางก็ยากจะมีคนกำกับดูแล ระหว่างทางกินยาลดไข้ ก็ตรวจไข้ไม่เจอ เมื่อไม่ได้เกิดความร่วมมือ จึงเกิดมาตรการ ลด ชะลอ หรือหยุดการเข้ามาประเทศไทย โดย กต.จะไปทำมาตรการเข้มขึ้นไปอีก เพื่อป้องกัน ลดสูญเสียเจ็บป่วย และกักตัวหลายพันคน ถ้าเป็นไปได้ให้สถานการณ์ดีขึ้นค่อยเดินทาง ถ้าไม่ได้รีบเร่งก็ชะลอการเดินทางไปก่อน เพราะหากมีอาการแล้วเดินทางมาเป็นผลเสียต่อตัวเอง เพราะอยู่ไกลหมอ หากมีอาการเกิดขึ้น และทำให้คนร่วมเดินทางเสี่ยงไปด้วย
เมื่อถามถึงกระแสข่าวการออกประกาศเคอร์ฟิวต่างๆ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ขอให้ติดตามทางหน้าจอทีวี ทั้งนี้การติดเชื้อไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ นายกฯ เคยพูดถึงมาตรการจากเบาไปหาหนักตั้งแต่ต้น วันนี้ขอให้ผู้ชมติดตามเวลาที่จะมีการประกาศกันอีกทีตามหน้าจอทีวีทั้งหลายเพื่อให้รับทราบและร่วมมือกัน เราต้องผนึกใจกันเป็นหนึ่ง โดยนายกฯ จะมากล่าวด้วยตัวเอง วันนี้คงต้องติดตามกันตรงนี้
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 2 เม.ย. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมเพื่อสรุปสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในภาพรวมที่ยังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและการทบทวนมาตรการต่างๆ
รายงานข่าวจาก ศบค.เปิดเผยว่า ในระหว่างการประชุม ที่ประชุมหารือกันว่า หลังการประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อเป็นการยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ปรากฏว่ายังพบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากยังคงปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินไปเช่นเดิมอาจมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ทำให้นายกรัฐมนตรี อาจต้องบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เต็มรูปแบบ ตามข้อเสนอจากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) โดยเฉพาะการประกาศเคอร์ฟิว หรือห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานทั่วประเทศในช่วงเวลาประมาณ 22.00-04.00 น. ทุกวัน จากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการนำร่องในการออกมาตรการปิดเมือง ด้วยการกำหนดช่วงเวลาห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานไปแล้วในหลายจังหวัด และปิดร้านสะดวกซื้อและร้านขายของช่วงเวลา 00.00-05.00 น. โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะออกโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) เย็นนี้ (2 เม.ย.) เวลา 18.00 น.